|
|
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความจน เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม |
คนจนไม่มีทรัพย์ย่อมกู้หนี้
|
|
การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก |
เมื่อกู้หนี้ย่อมเสียดอกเบี้ย |
|
การเสียดอกเบี้ย เป็นทุกข์ในโลก |
เมื่อไม่จ่ายดอกเบี้ยตามกำหนดย่อมถูกทวง |
|
การถูกทวง เป็นทุกข์ในโลก |
เมื่อถูกทวงแล้วไม่ใช้หนี้ย่อมถูกตามตัว
|
|
การถูกตามตัว เป็นทุกข์ในโลก |
เมื่อถูกตามตัวแล้วไม่ใช้หนี้ย่อมถูกจองจำ
|
|
การถูกจองจำ เป็นทุกข์ในโลก |
|
ความจนก็ดี การเป็นหนี้ก็ดี การเสียดอกเบี้ยก็ดี
การถูกทวงก็ดี การถูกตามตัวก็ดี การถูกจองจำก็ดี เป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปมาเช่นนี้เหมือนกัน
ผู้ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมะ ความไม่อาย ความไม่เกรงกลัวบาป
ความเกียจคร้าน ความไม่มีปัญญา เหล่านี้ เรียกว่า
ความยากจน ในวินัยของพระอริยะเจ้า |
ผู้ไม่มีศรัทธา ไม่ละอาย ไม่เกรงกลัวบาป
เกียจคร้าน ไม่มีปัญญา ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย
ทางวาจา และทางใจ นี้เรากล่าวว่าเป็นการกู้หนี้ |
ผู้ประพฤติทุจริต แล้วปกปิดความทุจริต
|
|
นี้เรากล่าวว่าเป็นการเสียดอกเบี้ย |
ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ผู้มีศีลย่อมติเตียน
|
|
นี้เรากล่าวว่า เป็นการถูกทวง |
ความคิดอกุศลอันลามกย่อมติดตามตนไป |
|
นี้เรากล่าวว่า เป็นการถูกตามตัว |
ผู้ประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ เมื่อตายไปย่อมไปเกิดในนรก
หรือเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นการถูกจองจำใดสักอย่างเดียวที่ทารุณ
เป็นทุกข์ เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมะอันยอดเยี่ยม
เหมือนการไปเกิดในนรก หรือเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานนี้เลย
|
|
ดูก่อนมานพ ผู้ไม่ให้ทานด้วย ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้
ของหอม ประทีป ที่นั่ง ที่นอน และที่อยู่อาศัยเป็นต้น
แต่สมณะพราหมณ์ ผู้มีศีล เมื่อเขาตายไปย่อมไปเกิดในนรก
หรือเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่ถ้าเขากลับเกิดเป็นคนใหม่
เขาจะเป็นคนยากจน มีทรัพย์สมบัติน้อย
|
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ทั้งหลายย่อมเกิดแก่ผู้ให้ทานมาดี
แล้วทุกเมื่อ ไม่ว่าผู้นั้นจะมีศิลป์ หรือไม่มีศีลป์ก็ตาม
และเขาย่อมได้ใช้ทรัพย์นั้น แต่ทรัพย์ย่อมล่วงเลยผู้ไม่ให้ทานไปเสีย
|
ผู้หาทรัพย์ได้แล้ว ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดา
ทรัพย์ของผู้นั้นย่อมพินาศ |
.......พุทธพจน์...... |
|
เหตุแห่งความยากจน....คือ
:- |
๑. ชอบพูดคำว่า เรายากจน
เราไม่พอใช้ |
๒. เกียจคร้านทำการงาน |
๓. ไม่แสวงหาวิชาความรู้ การอาชีพ |
๔. ติดสุรา ยาเสพติด |
๕. ติดการพนัน |
๖. มักมากในกาม |
๗. ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ฟุ่มเฟือย |
๘. ชาตินี้ตระหนี่ไม่ให้ทาน ชาติก่อนตระหนี่ไม่ให้ทาน |
๙. ไม่ตอบแทนบุญคุณต่อผู้มีพระคุณ |
๑๐. ไม่รู้จักเก็บออมทรัพย์ |
|
......พระเกษตร
ปคุโณ
|
|