|
|
๑. |
ชนผู้มีปัญญา
ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอก รักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก
ให้ตรง ดุจนายช่างทำลูกศรดัดลูกศรให้ตรง ผู้ปฏิบัติธรรมะพึงยกจิตขึ้นจากความอาลัยในกามคุณ
๕ ด้วยอำนาจสมาธิ และปัญญาเห็นโทษเพื่อละบ่วงของมาร
จงยกจิตที่ดิ้นรน ดุจปลาถูกนายพรานจับขึ้นจากน้ำโยนขึ้นบนบก
มันย่อมดิ้นรนอยู่ฉันนั้น |
|
|
๒. |
การฝึกจิตอันข่มได้ยาก
เป็นธรรมชาติที่แล่นเร็วมักตกอยู่ในอารมณ์ของความใคร่นั้นเป็นการดี
จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ |
|
|
๓. |
ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิตที่เห็นได้ยาก
ละเอียดอ่อนยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ใฝ่ต่ำ จิตที่คุ้มครองไว้ได้นำสุขมาให้ |
|
|
๔.
|
ผู้ใดสำรวมจิตอันชอบเที่ยวไปไกล
เที่ยวไปดวงเดียวไม่มีตัว ชอบหมกมุ่นในกิเลสตัณหา
ผู้นั้นจะพ้นจากเครื่องผูกของมาร |
|
|
๕.
|
ปัญญาย่อมไม่สมบูรณ์แก่ผู้มีจิตไม่มั่นคง
ไม่รู้แจ้งในสัจจะธรรมะ มีความเลื่อมใสที่เลื่อนลอย
ภัยย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตอันปราศจากความกำหนัด
ไม่ถูกโทสะกระทบ ย่อมละบาปและบุญได้ เป็นผู้ตื่นอยู่ |
|
|
๖.
|
บัณฑิตย่อมรู้จักกายนี้เปรียบด้วยหม้อดินที่แตกง่าย
ย่อมกั้นจิตอันเปรียบด้วยนคร พึงรบกับข้าศึกด้วยอาวุธคือปัญญา
จงรักษาความชนะที่ชนะได้แล้ว แต่ไม่ติดอยู่ |
|
|
๗.
|
ไม่นานหนอ
ร่างกายนี้จะนอนทับแผ่นดินไร้วิญญาณ ถูกทอดทิ้งเหมือนท่อนไม้ผุไร้ประโยชน์ |
|
|
๘.
|
จิตที่ตั้งไว้ผิด
ย่อมทำคนให้เลวทรามยิ่งกว่าความพินาศฉิบหายที่โจรหรือคนจองเวรทำให้เสียอีก |
|
|
๙. |
มารดาบิดา
หรือเหล่าญาติก็ไม่ทำอะไรได้ แต่จิตที่เจ้าของตั้งไว้ดีแล้วประเสริฐกว่า |
|
|
|
|
|