| ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา | | ขันติ คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง | |
| นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา | | ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง | |
| น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี | | ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย | |
| สมโณ โหติ ปรํ วิเหธยนฺโต | | ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย | |
| สพฺพปาปสฺส อกรณํ | | การไม่ทำความชั่วทั้งปวง | |
| กุสลสฺสุปสมฺปทา | | การทำความดีให้ถึงพร้อม | |
| สจิตฺต ปริโยทปนํ | | การทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์ | |
| เอตํ พุทฺธานสาสนํ | | นี้เป็นคำสอนของพระพุทธศาสนา | |
| อนูปวาโท อนูปฆาโต | | การไม่พูดร้าย การไม่ทำร้าย | |
| ปาติโมกฺเข จ สํวโร | | การสำรวมในปาติโมกข์ | |
| มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ | | ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค | |
| ปนฺตญฺจ สยนาสนํ | | การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด | |
| ปนฺตญฺจ สยนาสนํ | | การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด | |
| อธิ จิตฺเต จ อาโยโค | | ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง | |
| เอตํ พุทฺธานสาสนนฺติ | | นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย | |
มีข้อความในโอวาทปาฏิโมกข์ที่อาจจะจำเพาะเจาะจงสำหรับนักบวชหรือบรรพชิต และบางข้อก็นำไปประพฤติปฏิบัติได้ทั้งบรรพชิตและผู้ครองเรือน
อย่างไรก็ตามข้อความในโอวาทปาฏิโมกข์ก็ได้แสดงถึง จุดหมายสูงสุด แห่งพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า
จึงควรศึกษาพระโอวาทปาฏิโมกข์ให้เข้าใจแจ่มแจ้ง แล้วน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ ตามฐานะและกำลังความสามารถของตน จึงจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง
ในวันนี้พุทธศาสนิกชนก็จะไปประกอบศาสนกิจ เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เช่นเดียวกับที่ประพฤติปฏิบัติในวันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา
คือ นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญ อันได้แก่ พระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธปฏิมาเป็นต้น และฟังพระธรรมเทศนาการแสดงธรรมในวันนี้
จะแสดงธรรมในเรื่องพระโอวาทปาฏิโมกข์