|
|
|
|
เข้าสู่วัยรุ่นชอบศึกษาค้นคว้า
มักอ่านหนังสือประวัติบุคคลสำคัญประวัตินักวิทยาศาสตร์
นักผจญภัย ทำให้ได้รู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี อะไรควรทำ
อะไรไม่ควรทำ เป็นตัวอย่างการดำเนินชีวิต เป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ
เมื่ออ่านแล้วมีความชอบใจอยากเป็นอย่างนั้นบ้าง
สมัยเป็นนักเรียนมัธยมมีหนังสือเรียนภาษาอังฤษเล่มหนึ่งประกอบด้วยเรื่องสั้นหลายเรื่อง
มีอยู่เรื่องหนึ่งชื่อ "THE PILGRIMS "
เป็นเรื่องของนักพรตนักบวชผู้เบื่อโลกทิ้งบ้านทิ้งครอบครัวทิ้งทรัพย์สมบัติไปใช้ชีวิตสันโดษมักน้อยไม่สะสมข้าวของเป็นผู้ถือศีล
ไม่มีบ้านเรือนพเนจรร่อนเร่ไป โดยอาศัยอาหารที่ผู้อื่นให้เลี้ยงชีพโดยมุ่งหวังการบรรลุธรรมวิเศษ
ฉันอ่านแล้วอยากจะใช้ชีวิตอย่างนี้
|
|
|
|
|
ขณะที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยม
๔ โรงเรียนเป็นโรงเรียนชายล้วน โต๊ะเก้าอี้เป็นแบบคู่คือต้องนั่งติดกัน๒คน
วันหนึ่งนั่งดูขาของเพื่อนซึ่งนุ้งกางเกงขาสั้นเหมือนกัน
เห็นขาของเพื่อนขาวเต่งตึงแต่มีต่อมเหงื่อผุดเป็นเม็ดๆอยู่ทั่ว
ตามพื้นผิวก็เป็นไขเป็นมันซึ่งถ้าดูไกลๆจะไม่เห็น
พิจารณาดูเห็นว่า " ร่างกายของคนเรานี้ช่างน่าเกลียดหนอ
". เกิดความขยะแขยงต้องคอยระวังไม่ให้ขาของเรากางไปชนขาของเพื่อนตั้งแต่นั้นมาไม่อยากแตะเนื้อต้องตัวมนุษย์
|
|
|
|
|
โรงเรียนมัธยมที่เรียนครั้งนั้นอยู่ใกล้กับวัด
ทุกเย็นวันศุกร์ครูใหญ่จะพาครูและนักเรียนทั้งหมดทุกชั้นไปสวดมนต์และฟังเทศน์ในวัดเป็นเวลาประมาณ
๑ ชั่วโมง ตลอดเวลาที่ฟังเทศน์อยู่ฉันไม่รู้เรื่องเลย
ได้ยินเสียงจากเครื่องขยายเสียงดัง " ฉอดๆ
" แต่ก็ทนพนมมือฟังจนหมดเวลาถึงแม้จะเมื่อยก็ทนเอาถือว่าได้บุญ
ครูอาจารย์ท่านได้ปลูกฝังพระพุทธศาสนาให้เราซึ่งมีผลต่อมาในภายหลังมาก
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เมื่ออายุ ๑๖ ปี ไปเรียนชั้นมัธยม ๖ ที่จังหวัดชัยนาทอยู่กับพี่สาว
ต่อมาพี่สาวคลอดลูกคนแรกก็ต้องช่วยงานเขาเช่น
ซักผ้าอ้อมบ้าง ให้นมบ้าง ฯลฯ ไม่ได้คิดอะไร ถือว่าเรามาอาศัยอยู่กับเขาก็ต้องช่วยงานเขาเป็นธรรมดา
แต่แล้วพี่สาวก็ต้องจ้างคนเลี้ยงเด็กมาเลี้ยง
เพราะงานเลี้ยงเด็กนี้ยุ่งยากไม่มีจบสิ้น งานนี้ได้ความคิดว่า
" การมีลูกนี้เหนื่อยยากเสียจริง เราอย่าได้มีกับเขาเลย
โรงเรียนที่เรียนในครั้งนั้นชื่อ
"โรงเรียนชัยนาทวิชัยบำรุงราษฎร์ "
เป็นโรงเรียนที่มีแต่นักเรียนชายล้วน ครูประจำชั้นเป็นครูหนุ่มที่มีไฟแรง
ท่านมักมีความคิดริเริ่มทำอะไรใหม่ ๆ เสมอ วันหนึ่งท่านแนะนำว่า
คนเราไม่ควรพูดคำหยาบ ไม่ควรพูดคำห้วน ๆ ควรพูดแต่คำพูดที่ไพเราะ
ควรพูดคำพูดที่มีหางเสียง คำหยาบและคำห้วนเป็นคำพูดที่สังคมไม่ยอมรับ
ผู้พูดคำไพเราะไม่เป็นพูดคำที่มีหางเสียงไม่เป็น
ย่อมทำงานใหญ่ไม่ได้ เป็นผู้นำของบริวารจำนวนมาก
ๆ ไม่ได้ คำพูดที่ไพเราะ คือ ครับ, ผม, ค่ะ, ขา,
ดิฉัน, เป็นต้น คำพูดที่มีหางเสียงคือ มีคำว่า
ครับ, ค่ะ, ได้โปรด, กรุณา, ฯลฯ ต่อเข้าไปด้วย
คำไพเราะและคำพูดที่มีหางเสียงเป็นคำพูดที่น่ารัก
มีเสน่ห์ ตรึงใจคน ผู้ได้ยินได้ฟังย่อมประทับใจ
ชื่นชมยินดีอยากคบค้าสมาคมด้วย ผู้รู้จักพูดเช่นนี้ย่อมทำงานใหญ่ได้
เป็นผู้นำที่มีบริวารมาก ๆ ได้ ย่อมสามารถจูงใจคน
มัดใจคนได้ ขณะเดียวกันท่านก็มีแววตาที่มีความบริสุทธิ์และปรารถนาดี
ตั้งแต่นั้นมานักเรียนทุกคนในชั้นเรียนซึ่งแต่ก่อนไม่เคยพูดคำว่า
ครับ, ผม แก่กันเลยก็พากันพูดหมดทั้งชั้น
ในชั้นเรียนฉันมีเพื่อนสนิทอยู่
๒ คนวันหนึ่งหลังจากสอบเสร็จแล้ววันประกาศผลสอบเมื่อทุกคนทราบผลสอบแล้วก่อนที่จะแยกย้ายจากกัน
เพื่อนคนหนึ่งพูดขึ้นมาโดยไม่มีสาเหตุว่า "
ผมจะไม่มีเมีย " ทั้ง ๆ ที่ตลอดปีเราไม่เคยพูดเรื่องอย่างนี้กัน
ทันใดเพื่อนอีกคนก็พูดออกมาว่า" ผมเหมือนกัน
" โดยไม่มีใครบอกเหตุผล ไม่มีคำอธิบาย ทุกคนก็ไม่ต้องการฟังเหตุผลหรือคำอธิบาย
ขณะนั้นฉันรู้สึกเหมือนได้ยินเสียงสวรรค์ เหมือนได้ยินเสียงฟ้าคำราม
รู้สึกหัวใจพองโต ไม่พูดอะไรได้แต่ยิ้มในใจคิดอยู่ว่า
" เราจะยิ่งกว่านั้นอีก " แล้วแยกย้ายจากกันไม่ได้พบกันอีก
|
|
|
|