|
|
|
|
๑. ทำไมพระภิกษุจึงต้องออกธุดงค์? และการธุดงค์เปรียบเสมือนการจาริกแสวงบุญเหมือนกับศาสนาบางศาสนาใช่หรือไม่?
|
|
|
ตอบ |
คำว่า ธุดงค์
มาจากคำว่า ธุตงฺค(ดุตังคะ) ความจริงคนไทยโบราณเอาคำนี้มาจากภาษาบาลี
และต้องการให้คนไทยอ่านตามภาษาบาลี แต่เมื่อเขียนแบบบาลีเพื่อรักษาของเดิมไว้
คนไทยอ่านไม่ได้ เพราะภาษาบาลีไม่มีสระ ะ และมีเครื่องหมายอื่นที่แตกต่างจากภาษาไทย
พระภิกษุที่มีการศึกษาย่อมอ่านถูกต้อง แต่ชาวบ้านทั่วไปไม่รู้จึงอ่านว่า
ธุตง แล้วเพี้ยนมาเป็น
ธุดงค์ ในที่สุด แล้วก็เลยตามเลย ผู้ไม่รู้ความหมายเข้าใจว่าคือ
การเดินดง เดินป่า เป็นการเข้าใจที่ผิด ธุตงฺค
คือการปฏิบัติเพื่อขูดเกลากิเลส พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ในพระสูตรต่างๆ
พระสูตรละสี่ข้อบ้าง ห้าข้อบ้าง และหกข้อบ้าง เมื่อนำหลายๆพระสูตรมารวมกันจึงได้เป็น
๑๓ ข้อคือ:- |
|
๑. ใช้ผ้าบังสุกุล (เศษผ้าที่เขาทิ้ง)
๓. บิณฑบาตเลี้ยงชีพ
๕. ฉันอาหารวันละมื้อเดียว
๗. ลงมือฉันแล้วจะไม่รับอีก
๙. อยู่โคนต้นไม้
๑๑. อยู่ป่าช้า
๑๓. ไม่นอน
|
๒. ใช้ผ้า ๓ ผืน
๔. บิณฑบาตตามลำดับบ้าน
๖. ฉันเฉพาะอาหารในบาตร
๘. อยู่ป่า
๑๐. อยู่กลางแจ้ง
๑๒. อยู่ในที่ตามมีตามได้ |
|
|
แต่ละข้อล้วนดีงาม ควรแก่อริยะสาวกผู้แสวงหาทางพ้นกิเลสพ้นทุกข์
เป็นที่น่าเลื่อมใสน่าศรัทธา ผู้ที่ปฏิบัติได้ย่อมได้ชื่อว่าเป็นบุคคลพิเศษ
มีศรัทธาแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า มีปัญญาเห็นคุณค่า การปฏิบัติคือ
ทำเป็นนิจเป็นประจำ ไม่ใช่ทำชั่วครั้งชั่วคราว ส่วนการจาริกแสวงบุญนั้น
คือ การไปเที่ยวชมและเคารพบูชา ด้วยศรัทธาต่อสถานที่สำคัญของศาสนา
ถ้าเป็นชาวพุทธก็ไปชมไปเคารพบูชาสถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้
สถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าเป็นต้น |
|
|
|
๒. พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติให้พระธุดงค์ต้องฉันยาดองน้ำมูตรเน่าไว้จริงหรือไม่?
เพราะเหตุไรจึงทรงบัญญัติเช่นนั้น?
|
|
|
|
ตอบ |
พระภิกษุทุกรูปเมื่อบวชแล้วจะต้องถือ
นิสสัย ๔ คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต
นักพรต นักบวช ฤาษี โยคี ฯลฯ. ซึ่งเป็นปัจจัยที่หาได้ง่ายไม่ต้องทำให้ใครเดือดร้อน
ได้แก่
๑. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
๒. บิณฑบาต
๓. อยู่ตามโคนต้นไม้
๔. เมื่อป่วยไข้ก็ฉันยาดองมูตรเน่า
ยาดองมูตรเน่า
คือ น้ำปัสสาวะเปล่าๆ หรือใส่ผลสมอบ้าง ขิงบ้างข่าบ้าง
ซึ่งเป็นสมุนไพรทั่วไป ที่หาได้ง่ายแล้ว นำมา หมักไว้
สามารถดื่มแก้โรคได้หลายอย่าง ถ้าเป็นโรคร้ายแรง พระพุทธองค์ทรงให้เจริญโพชฌงค์
๗ คือการปฏิบัติธรรม จนถึงที่สุด ถ้ามีศรัทธาแรงกล้า
จิตเป็นสมาธิ แก่กล้าย่อมเป็น ธรรมโอสถ หายจากโรคได้
|
|
|
|
|
|
|
๓. บั้งไฟพญานาคที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เกิดขึ้นประจำทุกปีในวันออกพรรษาขึ้น
๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ โดยมีความเชื่อว่าลูกไฟที่ปรากฏนั้นเกิดจากอิทธิฤทธิ์ของพญานาคที่บูชาพระพุทธเจ้านั้นจริงหรือไม่?
และพญานาคมีจริงหรือ?
|
|
|
|
ตอบ
|
เรื่องนี้มีผู้ถกเถียงกันมาก
แบ่งตามความเชื่อได้เป็น ๓ พวกดังนี้ |
พญากาฬนาคราชนอนเฝ้าถาดทองเสี่ยงทายที่พระพุทธเจ้าทั้ง
๔ พระองค์ ทรงฉันข้าวมธุปายาส และยังมีถาดอีกใบหนึ่งของพระเมตเตยยะพุทธเจ้า
ที่จะมาตรัสรู้ในอนาคตของภัททะกัปนี้ ณ.ใต้แม่น้ำเนรัญชรา
โดยถาดทองของพระพุทธเจ้าองค์หลังจะลงไปซ้อนใต้ถาดทองของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
แต่ในภาพนี้ช่างวาดผิด |
|
๑. นักนึกนักคิด
เชื่อว่ามีคนไปแอบจุดบั้งไฟ จุดพลุ หรือยิงปืน
๒. นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่าเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
เกิดมีกรด
มีแก๊สบางชนิด ลอยขึ้นมาแล้วแล้วทำปฏิกิริยากับธาตุเบาบางชนิด
แล้วเกิดเป็นลูกไฟขึ้น
๓. ชาวบ้านและผู้มีศรัทธา
เชื่อสืบทอดกันมาว่า พญานาคที่อาศัยอยู่ใน พิภพนาคใต้แม่น้ำโขง
จุดบั้งไฟบูชาพระรัตนตรัย
- ในข้อแรก ถ้ามีคนไปแอบจุดบั้งไฟ จุดพลุหรือยิงปืน ย่อมเกิดเสียงระเบิดและจะไปจุดในน้ำได้อย่างไร?
ของจริงนั้นพุ่งขึ้นจากกลางแม่น้ำและไม่มีเสียงระเบิด
- ในข้อที่สอง ถ้าเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ย่อมเกิดวันใดก็ได้
เมื่อใดก็ได้ หรือที่ไหนก็ได้ แต่นี่จะเกิดเฉพาะวันออกพรรษา
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เท่านั้น วันอื่นไม่เกิด
- เมื่อสองข้อที่กล่าวมานั้นเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นในข้อที่
๓ ก็น่าพิจารณา ถ้าพญานาคไม่มีแล้วเหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร??
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องพญานาคไว้มากมายในพระไตรปิฎก!!
|
|
|
|
|
๔. จากข้อ ๓ ถ้าพญานาคมีจริง เปรียบเทียบพญานาคกับมนุษย์ ใครมีบุญมากกว่ากัน?
|
|
|
|
ตอบ
|
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องนาคไว้ดังนี้:-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กำเนิดของนาคมี ๔ จำพวกคือ เกิดจากไข่๑, เกิดจากครรภ์๑, เกิดจากที่ชื้นแฉะ๑,
และเกิดจากการผุดเกิด(โอปะปาติกะ)๑ นาคทั้ง ๔ จำพวกนี้ จะมีความประณีตแตกต่างกันตามลำดับ
โดยนาคจำพวกที่ผุดเกิดประณีตที่สุด |
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกนาคมีความคิดว่า เมื่อก่อนเราทำกรรมทั้งสอง (สุจริตและทุจริต)
ด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อตายไปจึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาค
พวกใดพวกหนึ่งใน ๔ จำพวก ถ้าพวกเราประพฤติสุจริตด้วย กาย
วาจา ใจ เมื่อพวกเราตายไปจะเข้าถึงสุคติสวรรค์ เชิญพวกเรามาประพฤติสุจริตด้วยกาย
วาจา ใจ กันเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำกรรมทั้งสอง (สุจริตและทุจริต) ด้วยกาย วาจา
ใจ เขาได้ฟังมาว่า พวกนาคมีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก
เขามีความปรารถนาว่า เมื่อตายไปขอเราจงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคเกิดจากไข่
( ....เกิดจากครรภ์, ....เกิดจากที่ชื้นแฉะ, ....เกิดโดยผุดเกิด)เถิด
เขาจึงให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ของหอม เครื่องสำอาง ที่นั่งที่นอน
ที่พักอาศัย และอุปกรณ์แสงสว่าง เมื่อเขาตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคจำพวกเกิดจากไข่
( ....เกิดจากครรภ์, ....เกิดจากที่ชื้นแฉะ, ....เกิดโดยผุดเกิด)
(พระไตรปิฎก นาคสังยุต เล่ม ๑๗ หน้า
๒๘๖)
|
พระพุทธเจ้าทรงให้พระมหาโมคคัลลานะ
ไปทรมานนันโทปะนันทะนาคราช |
|
นาค ๔ จำพวกนั้น พวกที่ผุดเกิดหมายถึง พญานาค
เป็นพวกที่มีกายทิพย์ มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม
เสวยสุขในทิพย์สมบัติ มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก สามารถเนรมิตกายเป็นมนุษย์ได้
อาศัยอยู่ในพิภพนาคใต้บาดาล (ใต้แม่น้ำต่างๆ) พญานาคชนิดนี้จึงมีบุญมากกว่ามนุษย์
แต่ในพิภพนาคไม่อาจจะประพฤติพรหมจรรย์ได้ เพราะมากล้นไปด้วยกามคุณ
๕ ดุจเทวดา ดังนั้นพระโพธิสัตว์เมื่อเกิดเป็นพญานาค
จึงต้องขึ้นจากพิภพนาคมาประพฤติพรหมจรรย์บนโลกมนุษย์
หรืออธิษฐานให้เกิดเป็นมนุษย์เพื่อจะได้ประพฤติพรหมจรรย์ |
|
เรื่องของพญานาค
พระพุทธเจ้าตรัสไว้มากในพระไตรปิฎก จะยกมาเป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อย
ดังนี้:-
พระพุทธเจ้า
ของเราเมื่อยังสร้างบารมีในอดีตชาติ เคยเสวยพระชาติเป็นพญานาคหลายครั้ง
เช่น จัมเปยยะนาคราช, ทัททระนาคราช, ปัณฑระกะนาคราช, และภูริทัตนาคราช
เป็นต้น |
ในสัปดาห์ที่
๖ หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ พระองค์ทรงประทับ
นั่งอยู่ใต้ต้นอัชปาละนิโครธ ขณะนั้นเกิดฝนตกและมีพายุแรง
พญานาค มุจลินท์ ได้ขึ้นมาจากสระมุจลินท์
มาขนดกายรอบพระองค์ ๗ รอบ และแผ่พังพานปิดด้านบนเหนือพระเศียรเพื่อปกป้อง
ลม ฝน เหลือบ ยุง แก่พระองค์ครบ ๗ วัน จนฝนและพายุหมดแล้ว
พญานาคมุจลินท์ จึงได้เนรมิตกายเป็นชายหนุ่มยืนไหว้พระองค์อยู่
อีกเรื่องหนึ่ง
มีพญานาคตนหนึ่งอยากบวชเป็นพระภิกษุ จึงเนรมิตกาย เป็นมนุษย์แล้วมาขอบวชกับพระภิกษุสงฆ์
เมื่อบวชแล้ววันหนึ่งนอน หลับเผลอสติ ร่างจึงกลับกลายเป็นพญานาคนอนเหยียดยาวอยู่ในกุฏิ
พระภิกษุ ทั้งหลายเห็นแล้วตกใจกลัวจึงพากันไปกราบทูลพระพุทธเจ้า
พระองค์ ทรงตรัสเรียกพญานาคตนนั้นเข้าเฝ้าแล้วตรัสห้ามพญานาค
บวชเป็น พระภิกษุ พญานาคตนนั้นได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า
ถ้าพระองค์ห้ามพญานาคบวชก็ไม่เป็นไร
แต่ขอให้พระองค์จงทรง ให้เรียกผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุว่า
นาค เถิดพระเจ้าข้า พระพุทธเจ้า ก็ทรงตรัสให้พระภิกษุทั้งหลายเรียกผู้ที่จะบวชว่า
นาค ตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา |
|
มุจจลินท์นาคราช
ขนดกายปกป้องลมฝน ให้พระพุทธเจ้าภายหลังตรัสรู้ในสัปดาห์ที่๖ |
|
|
เป็นที่น่าสลดใจ
เมื่อเปิดพจนานุกรมพุทธศาสน์ ซึ่งเขียนโดยพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงที่ใครๆยกย่องว่าเป็นปราชญ์แห่งพระพุทธศาสนาองค์หนึ่ง
ท่านกล่าวเรื่องนาคไว้ดังนี้ นาค
คือ งูใหญ่ในนิยาย, ช้าง, ผู้ประเสริฐ, ใช้เป็นคำเรียกคนที่กำลังจะบวชด้วย
ท่านกล่าวไว้แค่นี้ เมื่อพระศาสดาตรัสเป็นหลักเป็นฐานไว้มากมายในพระไตรปิฎกเช่นนี้
ท่านยังกล่าวว่า นาค คือ งูใหญ่ในนิยาย
ท่านย่อมได้ชื่อว่า กล่าวตู่พระพุทธพจน์ คัดค้านพระธรรมวินัย
ลบล้างพระธรรมวินัย |
|
ในปัจจุบันนี้
มีนักปราชญ์ผู้ที่มีชื่อเสียงแต่มีศรัทธาน้อย
ไม่ละอาย เป็นปุถุชนแท้ๆเช่นนี้จำนวนมาก มักกล่าวสิ่งที่ตนมองไม่เห็นเพราะไม่มีคุณวิเศษที่จะได้เห็น
และเพราะไม่มีความเชื่อในพระศาสดาจึงกล่าวว่า สิ่งนั้นไม่มีหรือเป็นเรื่องนิยาย
เปรียบเสมือนคนตาบอด โดยกำเนิดไม่เคยเห็นดวงอาทิตย์ เมื่อมีคนพูดเรื่องดวงอาทิตย์เขาก็กล่าวว่า ดวงอาทิตย์ไม่มีดอก
เป็นเพียงเรื่องนิยาย
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ
ธาตุลม ธาตุไฟ และบุคคล ภายนอกไม่อาจทำให้พระธรรมวินัยนี้เสื่อมได้
แต่พวกโมฆะบุรุษ (คนเปล่า,คนไม่เอาไหน)คือ ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกา ในพระธรรมวินัย นี้เองที่ทำให้เสื่อม ดังนั้นผู้ศึกษา
ค้นคว้าจากตำราข้างนอกควรนำมาเทียบเคียง ตรวจสอบกับพระไตรปิฎกก่อนถ้าลงกับพระไตรปิฎก
ไม่ได้ก็ ให้ละทิ้งเสีย
|
ทรงรับนิมนต์เสวยภัตตาหาร
ที่บ้านนายจุนทะ |
|
|
|
|
|
๕. ทำไมพระธุดงค์จึงฉันอาหารในบาตร? วิธีการฉันอาหารอย่างไรจึงจะถูกต้อง?
|
|
|
|
ตอบ
|
ไม่ใช่พระภิกษุผู้ถือธุดงค์วัตรเท่านั้นที่ฉันอาหารโดยใช้บาตรเป็นภาชนะ
แต่พระภิกษุ-สามเณรทุกองค์ต้องทำเหมือนกัน เพราะบาตรเป็นภาชนะพิเศษ
เป็นภาชนะศักดิ์สิทธิ์ของบรรพชิต นักพรต นักบวช พระภิกษุ
สามเณร และผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย บาตรเป็นภาชนะที่พระบรมศาสดาทรงประทานแก่สาวกของพระองค์ดังนั้นพระภิกษุสามเณรควรภาคภูมิใจที่ได้ฉันอาหารโดย
ใช้บาตรเป็นภาชนะ และไม่ควรใช้จาน ชาม ซึ่งเป็นภาชนะของชาวบ้านผู้บริโภคกาม
การฉันอาหารที่อยู่ในบาตร คือ เอาอาหารทุกอย่างทั้งคาวทั้งหวานใส่รวมปนในบาตรที่เดียวโดยไม่ใช้ภาชนะอื่น
เพื่อเป็นการขูดเกลากิเลส เป็นการปิดกั้นความโลภในอาหารอื่นอีก
เป็นการปิดกั้นตัณหาในการแยกความอร่อยของชนิดอาหาร
|
|
|
|
|
|
|