๑. เพราะเหตุใดผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุจะต้องเป็นมนุษย์เท่านั้น เทวดา นาค และอมนุษย์ที่เลื่อมใสพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้บวช?

ตอบ   เพราะเทวดา นาค และอมนุษย์ทั้งหลาย มีสายพันธ์ มีสภาวะร่างกาย ความเป็นอยู่ อาหาร และรสนิยมแตกต่างจากมนุษย์ ไม่อาจที่จะมาอยู่ร่วมกับมนุษย์และไม่อาจอยู่ในพระวินัยอันเดียวกับมนุษย์ได้อีกประการหนึ่งบุคคลเหล่านี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่ได้ คือ สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย เทวดาที่มีอายุยืน คนมิจฉาทิฐิ และคนทรามปัญญา บ้าใบ้

 
 
  ๒. ใครคือผู้เป็นเลิศในการบริจาคทานในพระพุทธศาสนาครั้ง
สมัยพุทธกาล?
   ตอบ   อนาถบิณฑิกะ เป็นผู้เลิศในการถวายทาน ท่านได้ตั้งความ
   ปรารถนานี้เบื้องบาทมูลของพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตะระ    เมื่อแสนกัปมาแล้ว

   ในพุทธกาลนี้ท่านเกิดเป็นบุตรของ สุมะนะเศรษฐี กรุงสาวัตถี
   ท่าน ท่านได้ซื้อที่ดินที่มีเนื้อที่ ๘ กรีส ( ๑ กรีส = ๑๒๕ ไร่,
   8 กรีส กรีส = ๑,๐๐๐ ไร่ )) ด้วยราคาที่เจ้าของโก่งไว้โดยการ
   เอาเหรียญทองคำมาปูเรียงให้เต็มพื้นที่ ท่านไม่เกี่ยง
   ไม่ต่อราคาเลย สิ้นทรัพย์เป็นค่าที่ดิน ๑๘ โกฏิ (๑๘๐ ล้าน)
   กหาปะนะสมัยนั้น ค่าสร้างสังฆาราม ๑๘ โกฏิ และค่าฉลอง
   ๑๘ โกฏิ ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ท่านได้เป็นที่พึ่งของคนยาก
   คนจน  และบำรุงพระพุทธศาสนาจนตลอดชีวิต พระบรมศาสดา
   ทรง ทรงประกาศสถาปนาท่านเป็นเอตะทัคคะ ผู้เลิศกว่าอุบาสก
   ทั้งปวง.
 
 ๓. ประเพณีลอยกระทง เกี่ยวข้องอย่างไรกับพระพุทธศาสนา?

   ตอบ  ประเพณีการลอยกระทง มีความเชื่อสืบต่อกันมาว่าเป็น
   การบูชารอยพระพุทธบาท ณ แม่น้ำนัมมาน และเป็นการเคารพ
   ขอขมา  ต่อแม่น้ำที่เราได้ใช้ประโยชน์


๔ พระไตรปิฎกได้มีการบันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าและเรื่องราวต่างๆครั้งสมัยพุทธกาล โดยเนื้อหาบางส่วนได้กล่าวถึง พระพรหม เทวดา นาค และยักษ์ มีในสมัยพุทธกาล แต่ทำไมในปัจจุบันจึงไม่สามารถพบเห็นได้?

ตอบ  ในปัจจุบันอมนุษย์เหล่านี้มีอยู่ แต่มนุษย์ไม่เห็นเพราะท่านเหล่านี้มีกายทิพย์ที่ ต้องดูด้วยตาทิพย์ หรือไม่ก็ท่านเหล่านี้
  ต้องการแสดงตัวให้เห็นจึงจะได้เห็น.

   ในสมัยพุทธกาลขณะที่พระพุทธศาสนากำลังเจริญรุ่งเรือง นักบุญมีมาก ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีมาก อมนุษย์ทั้งหลาย

  ปรารถนาพบเห็นคนดี ย่อมปรากฏกายให้เห็น ในปัจจุบันนี้มนุษย์ห่างไกลพระพุทธศาสนามากขึ้น นักบุญมีน้อย
  ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีน้อย ผู้มีความเชื่อความศรัทธามีน้อย อมนุษย์จึงหนีห่างไกล

 
๕. “บุคคลผู้ไม่โกรธตอบผู้ที่โกรธแล้ว ย่อมชื่อว่าชนะสงครามที่เอา ชนะได้ยาก นมัสการหลวงพ่อช่วยสอนและบอกวิธีการ
ปฏิบัติ อย่างไรจึงจะชนะความโกรธ เมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่บีบคั้นและเลวร้ายอันเป็นเหตุให้โกรธนั้นได้?
ตอบ  พระพุทธเจ้าทรงกล่าวโทษของความโกรธ และอานิสงส์ของความไม่โกรธไว้มากในหลายพระสูตร เช่น
• โทษของความโกรธ คือ
๑. ผู้มีความโกรธ ย่อมมีหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัวไม่มีใครอยากเข้าใกล้
๒. ผู้มีความโกรธ ถึงจะนอนบนที่นอนราคาแพง มีหมอนสีแดงหนุนศีรษะและเท้าอยู่ ก็นอนหลับเป็นทุกข์และตื่นเป็นทุกข์
๓. ผู้มีความโกรธ ญาติมิตรย่อมหนีห่างไกล
๔. ผู้มีความโกรธ ย่อมเห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่าไม่เป็นประโยชน์ เห็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่าเป็นประโยชน์
๕. ผู้มีความโกรธ เมื่อตายไปย่อมเข้าสู่อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ย่อมมีรูปชั่ว
• อานิสงส์ของความไม่โกรธ คือ
๑. ผู้ไม่โกรธ ย่อมมีหน้าตาผ่องใสใครๆอยากคบหาสมาคมด้วย
๒. ผู้ไม่โกรธ แม้จะนอนบนพื้นดินก็หลับเป็นสุขและตื่นเป็นสุข
๓. ผู้ไม่โกรธ ย่อมมีญาติมิตรและบริวารมาก
๔. ผู้ไม่โกรธ ย่อมเห็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่าไม่เป็นประโยชน์ เห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่าเป็นประโยชน์
๕. ผู้ไม่โกรธ เมื่อตายไปย่อมเข้าสู่สวรรค์ เมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ย่อมมีรูปงาม ฯลฯ
ผู้มีปัญญาเมื่อศึกษาและหมั่นท่องจำโทษของความโกรธ อานิสงส์ของความไม่โกรธดังนี้แล้ว ย่อมบรรเทาความไม่โกรธหรือหายโกรธได้

๖. อยากทราบเกี่ยวกับที่มาของบทพระสังฆคุณ?
      ตอบ พระพุทธเจ้าทรงตรัสพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ ไว้ในหลายพระสูตรเช่น
  ธชัคคะสูตร สังยุตตะนิกาย สคาถาวรรค เล่ม๑๕ หน้า ๓๐๕ ดังนี้ :-

  “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี
  เกิดแก่พวกเธอเมื่อเข้าไปในป่าก็ดี อยู่ที่โคนต้นไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี พวกเธอพึงระลึกถึง
  เราว่า ....พระผู้มีพระภาคเป็นพระอะระหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ...ฯลฯ ...
  เมื่อพวกเธอระลึกถึงเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสองสยองเกล้า
  ก็ดี จะหายไป..
  
  หากพวกเธอไม่ระลึกถึงเรา จงระลึกถึงพระธรรมว่า ....พระธรรมอันพระผู้มีพระตรัสไว้ดีแล้ว
  บุคคลพึงเห็นได้เอง ...ฯลฯ ....  หากพวกเธอไม่ระลึกถึงพระธรรม จงระลึกถึงพระสงฆ์ว่า
  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ฯลฯ..."

๗. เห็นบางวัดมีพวกพ่อค้าแม่ค้าเข้าไปเปิดร้านแผงลอยอยู่อย่างถาวรก็มี ชั่วครั้งชั่วคราวเช่นวันเสาร์-อาทิตย์ก็มี เกิดความพลุกพล่าน มี เสียงดังไม่สงบ
ขาดบรรยากาศศักดิ์สิทธิ์ ไม่น่าเลื่อมใสเลย วัดอย่างนี้เหมาะสมหรือไม่?
      ตอบ   พระอะระหันต์ พระสงฆ์ นักพรต นักบวช และผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายย่อมยินดีในความสงบ สงัด วิเวก และ ห่างไกลจากความสับสนวุ่นวาย
  สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการประพฤติปฏิบัติธรรม และไม่เป็นสถานที่อันผาสุข พระพุทธ พุทธองค์ทรงตรัสว่า “สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี” เมื่อวัด
  ไม่เป็นที่สงบ สงัด ร่มรื่นเสียแล้ว ผู้ประพฤติปฏิบัติธรรม นักพรต นักบวช และผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายย่อมไม่ปรารถนาที่จะอยู่ ผู้ที่อยู่ก็คงมีแต่ผู้ปรารถนา
  ปรารถนาในสิ่งอันไม่เหมาะไม่ควรเป็นแน่ ดังนั้นวัดจึงไม่ควรให้พวกพ่อค้าแม่ค้าไปขายของไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราวก็ตาม ควรตกแต่งวัดให้มีความ
  สงบสงัด และร่มรื่น...
 
หน้าแรก I ประวัติหลวงพ่อเกษตร I วัดเขาหินเทิน I ภาพกิจกรรมวัดเขาหินเทิน I ธรรมะโดยหลวงพ่อเกษตร I กระดานกระทู้ธรรม I ติดต่อกับเรา
Copyright © 2003 Wat Khaohinturn All rights reserved
Designed & Managed by : flmonline.net