๑.พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์หรือไม่?



ตอบ
ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกหีนะยาน อันเป็นพระพุทธศาสนาต้นฉบับของเดิม ได้กล่าวไว้หลายตอนว่า พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์ แต่พระไตรปิฎกมหายาน อันเป็นพระพุทธศาสนาแปลกปลอม กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าไม่เสวยเนื้อสัตว    
 
 
๒. สูกรมัททวะ คืออะไรกันแน่?
  ตอบ

สูกรมัททวะ ที่ถูกต้องอ่านว่า สูกะระมัททะวะ
  สูกะระ แปลว่า... หมู
  มัททะวะ แปลว่า... อ่อน
  สูกะระมัททะวะ แปลว่า... เนื้อหมูอ่อน
  พระไตรปิฎกฉบับอรรถกถา ในอรรถกถาปรินิพพานสูตรก็กล่าวว่าเป็นเนื้อหมูอ่อน แต่พวกมหายานพยายามปิดเบือนโดยแปลว่า เห็ดที่เขาให้หมูกิน


๓. เวลานี้พระพุทธศาสนาในประเทศไทยมีกี่นิกาย?




ตอบ

แต่เดิมหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วไม่นาน ศาสนาพุทธแตกกันเป็นสองฝ่าย คือ มหายานกับหีนะยาน ฝ่ายมหายานถือคติว่า “พระธรรมวินัยตัดต่อแต่งเติมได้ เพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัย” ส่วนฝ่ายหีนะยานถือคติว่า “พระธรรมวินัยไม่ควรตัดต่อแต่งเติม ควรรักษาของเดิมอันพระศาสดาทรงตรัสไว้ดีแล้ว”
    ต่อมาฝ่ายมหายานเผยแพร่ไปทาง จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และญวน ฝ่ายหีนะยานเผยแพร่ไปทาง ลังกา ไทย พม่า ลาว และเขมร แต่เดิมเมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศไทยยังไม่แตกเป็นนิกาย แต่มาในสมัยรัชกาลที่ ๓ ถูกแยกออกเป็น มหานิกายกับธรรมยุตนิกาย และเมื่อมีชาวจีน ชาวญวน เข้ามาสู่ประเทศไทยมากขึ้น จึงมีจีนนิกายและญวนนิกายในปัจจุบันนี้มีชาวพุทธกลุ่ม น้อยดื้อแพ่ง สร้างนิกายใหม่ขึ้นมาอีกคือ ธรรมกายนิกายและสันติอโศกนิกาย ดังนั้นในปัจจุบันในประเทศไทยจึงมี ๖ นิกาย

                 


๔. ทำไมต้องมีการแตกแยกเป็นนิกายต่างๆ?




ตอบ
 เพราะกิเลส ตัณหา มานะ และทิฏฐิ
     


๕. แล้วเราจะเลือกนับถือนิกายไหนดี่?




ตอบ
 พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า “ผู้ใดทำสงฆ์ที่สามัคคีกันแล้วให้แตกกัน ผู้นั้นจะต้องไปสู่นรกนาน ๑ กัป ผู้ใดทำสงฆ์ที่แตกกันแล้วให้สามัคคีกัน ผู้นั้นจะได้ไปสู่สวรรค์นาน ๑ กัป” ดังนั้นจึงไม่มีนิกายไหนดี



๖. แล้วหลวงพ่อบวชนิกายไหน?




ตอบ
ถามอย่างนี้ไม่มีประโยชน์ เพราะถ้าตอบว่าบวชนิกายใด ผู้ฟังย่อมเกิดอคติ คือ ชังและชอบในคำตอบนั้น เป็นอกุศลธรรมอันลามก เสียสุขภาพจิตเปล่าๆ จะให้ดีควรถามว่า “ท่านบวชแล้ว... ท่านละกิเลสตัณหาอะไรได้บ้าง” อย่างนี้จะดีกว่า.




 
หน้าแรก I ประวัติหลวงพ่อเกษตร I วัดเขาหินเทิน I ภาพกิจกรรมวัดเขาหินเทิน I ธรรมะโดยหลวงพ่อเกษตร I กระดานกระทู้ธรรม I ติดต่อกับเรา
Copyright © 2003 Wat Khaohinturn All rights reserved
Designed & Managed by : flmonline.net