|
|
|
|
๑. จากพระไตรปิฎกอรรถกถา เล่ม ๑๓ มหาปทานสูตร ประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๗ พระองค์
|
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่าวิปัสสี เป็น โกญฑัญญโคตร
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี
เป็น โกญฑัญญโคตร
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเวสภู
เป็น โกญฑัญญโคตร
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ
เป็น กัสสปโคตร
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ
เป็น กัสสปโคตร
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ
เป็น กัสสปะโคตร
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโคดม
เป็น โคตมโคตร
|
คำว่าโกญฑัญญโคตร,
กัสสปโคตร, และโคตมโคตร ของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ มีความหมายว่าอย่างไร?
|
|
|
|
|
ตอบ
|
คำเหล่านี้เป็นเพียงชื่อโคตรตระกูลเท่านั้น
ไม่มีความหมายหรือคำแปล |
|
|
|
|
๒. ทำไมเมื่อคนเราตายไปจึงต้องมีพิธีการจัดงานศพ ต้องไปเคารพศพ อะไรคือวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการจัดงานศพ?
|
|
|
|
ตอบ |
พิธีกรรมในงานศพ
พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสไว้ว่าจะต้องทำอย่างไร จะจัดหรือไม่จัดก็ได้
เพราะไม่มีประโยชน์อะไรกับผู้ตาย ผู้ตายเมื่อวิญญาณออกจากร่างก็ไปเกิดใหม่
ตามอำนาจของบาป-บุญ ที่ตนได้กระทำไว้ก่อนตาย ผู้อื่นไม่สามารถช่วยอะไรได้
พิธีกรรมต่างๆในงานศพ พวกสัปเหร่อจะแนะนำไปตามความเชื่อและตามความคิดเห็นของตน
แต่ละท้องที่ก็ทำแตกต่างกันไป โดยมีวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของงานศพก็คือ
เกียรติยศชื่อเสียงของผู้ตาย ของเจ้าภาพ และหวังเพื่อให้ผู้ตายไปสู่ที่ดีๆ
อีกอย่างหนึ่งก็เพื่ออาชีพของสัปเหร่อเอง
ตามริมฝั่งแม่น้ำคงคาในประเทศอินเดีย
ตลอด ๒๔ ชั่วโมงทุกวัน จะไม่ว่างจากควันไฟเผาศพเลย แต่ละศพจะมีญาติเพียง
๑ - ๒ คน ช่วยกันเผา เผาเสร็จแล้วก็เอาเถ้ากระดูกโปรยลงแม่น้ำคงคา
โดยมีความเชื่อว่าแม่น้ำคงคาสามารถล้างบาปของผู้ตายได้ ไม่ต้องทำพิธีกรรมใดๆ
ขณะเดียวกันก็มีสัปเหร่อที่ไม่ต้องจ้าง คือ คุณแร้ง คุณกา คุณนก
คุณหนูทั้งหลาย เฝ้าคอยดูอยู่ใกล้ๆ ถ้าญาติจัดการงานศพไม่หมด
หรือศพไม่มีญาติ ก็จะช่วยจัดการให้เรียบร้อย
|
|
|
|
|
๓. พิธีศพของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร?
|
|
|
|
ตอบ |
สำหรับพิธีศพของพระพุทธเจ้านั้น
พระอานันทะ(พระอานนท์) เคยถามพระองค์ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
จะจัดการพระศพของพระองค์อย่างไรพระเจ้าข้า" พระองค์ทรงตรัสว่า
"อานันทะ.... เธออย่าเดือดร้อนเลย พวกกษัตริย์เขาจะจัดการเอง"
พระอานันทะก็ทูลถามว่า "ถ้าพวกกษัตริย์จะจัดการ จะให้จัดการอย่างไร?"
พระองค์ทรงตรัสว่า "จงจัดอย่างพระศพของพระเจ้าจักรพรรดิ
คือ ห่อพระศพด้วยผ้าใหม่ ซับด้วยสำลีสลับกัน ๕๐๐ ชั้น แล้วอัญเชิญลงในรางเหล็กที่เต็มไปด้วยน้ำมัน
แล้วปิดด้วยฝาเหล็ก พรมด้วยของหอม เผาบนเชิงตะกอน แล้วนำสรีระธาตุบรรจุในสถูปประดิษฐานไว้ในทางใหญ่
๔ แพร่ง ชนใดบูชาด้วยดอกไม้ของหอม หรือกราบไหว้ด้วยจิตอันเลื่อมใสในพระสถูปนั้น
จะเป็นประโยชน์ เป็นความสุขตลอดกาลนาน"
|
|
|
|
|
|
๔. ทำไมในงานศพต้องมีการนิมนต์พระภิกษุมาสวดศพ? ทำไมต้องมีการสวดพระอภิธรรม?
|
|
|
|
ตอบ
|
การนิมนต์พระภิกษุมาสวดอภิธรรมในงานศพนั้น
ชาวบ้านจัดกันไปเอง แต่ก็เป็นสิ่งที่ดีที่ได้ทำบุญทำกุศลกับพระภิกษุ
เพราะการเห็นสมณะเป็นมงคล
การสวดอภิธรรมนั้นหวังให้ผู้ตายได้ฟังธรรมขั้นสูง
ถ้าผู้ตายเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ ไม่สนใจในการบุญการกุศล ไม่สนใจในธรรม
ก็ไม่เป็นประโยชน์อะไรในการสวด แต่อภิธรรมยังเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่
ถ้าผู้ฟังมีความสนใจฟัง และรู้คำแปล รู้ความหมาย ย่อมเกิดบุญเกิดอานิสงส์จากการฟังนั้น |
|
|
|
|
๕. พิธีศพเท่าที่เห็นมาทำไมเจ้าภาพต้องเลี้ยงเหล้าเลี้ยงเบียร์ ให้กับแขกที่มาในงาน
จะเลี้ยงแต่อาหารกับขนมจะได้หรือไม่?
|
|
|
|
ตอบ
|
เจ้าภาพจะเลี้ยงอะไรก็ได้ไม่ผิด
แต่เหล้าเบียร์เป็นสิ่งสมมุติกันว่าดีในสังคมของปุถุชน ถ้าเจ้าภาพไม่เลี้ยงด้วยสิ่งเหล่านี้
เกรงว่าแขกจะติเตียน กลัวจะเสียหน้าซึ่งเจ้าภาพคิดไปเอง ถ้าเจ้าภาพไม่เลี้ยงเหล้าเลี้ยงเบียร์ใครจะทำอะไรได้
บัณฑิตยังสรรเสริญว่าเจ้าภาพเป็นคนดี มีศีลธรรม มีกัลยาณธรรม
การเลี้ยงด้วยเหล้าเบียร์ยังเป็นผลเสีย คือ มีค่าใช้จ่ายสูง
แขกที่กินเหล้าแล้วมักพูดมาก กินหมดขวดแล้วก็อ้อนออดขออีกไม่จบไม่สิ้น
เมื่อเมาแล้วอาจเกิดการทะเลาะวิวาทตีกันในงาน อีกอย่างหนึ่งการทำบุญสงเคราะห์คนขี้เมา
คือคนทุศีล ย่อมมีผลน้อย มีอานิสงส์น้อย
|
|
|
|
|
๖. พิธีศพเท่าทีเห็นมา ทำไมต้องมีการเล่นการพนัน?
|
|
|
|
ตอบ
|
การพนันในงานศพนี้เป็น
กาฝาก เป็นกติกามืดของสังคมไทย
ผู้ไม่เคยจัดงานศพจะไม่รู้ แต่เมื่อใดได้จัดงานศพแล้วจะรู้เองว่า
มีแขกผู้ไม่ต้องเชิญ คือพวกนักพนัน บุคคลพวกนี้เขาจะรู้ได้เองว่าบ้านไหนมีงานศพ
เขาจะพากันไปอย่างมากมายโดยมิได้นัดหมาย เหมือนเป็นกระบวนการโดยเจ้าหน้าที่ไม่อาจจัดการอะไรได้
เจ้าภาพก็พูดไม่ออก เจ้าภาพจะต้องจำใจต้อนรับขับสู้ บำรุงบำเรอเขาเหล่านั้นด้วยสุรา
อาหารต่างๆ และที่หลับที่นอนอย่างดี เสมอด้วยแขกผู้เกียรติที่ได้รับเชิญ
พวกนักพนันเหล่านี้มักติดต่อกับเจ้าภาพ ขอเป็นเจ้าภาพจัดการงานศพต่ออีก
๗วันบ้าง ๑๐วันบ้าง ยิ่งนานยิ่งดี โดยยอมจ่ายค่าป่วยการให้ทุกอย่าง
ขอให้เล่นการพนันได้เท่านั้น เพราะถ้าไปเล่นที่อื่นที่ไม่ใช่งานศพตำรวจจะจับ
เจ้าภาพที่เห็นแก่ได้ก็มีอยู่ นี่คือธุรกิจมืดที่มองเห็นได้แต่แก้ไขไม่ได้ของสังคมไทย!
|
|
กายนี้หนอไม่นานก็จะต้องนอนทับแผ่นดิน ปราศจากความรู้สึก
เหมือนท่อนไม้ ไม่มีประโยชน์
|
|
|
|
|
|
๗. ถ้ามีการทำสถูปเจดีย์เพื่อบรรจุกระดูกไว้ตามวัดจะดีหรือไม่ประการใด?
|
|
|
|
ตอบ
|
พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"บุคคลผู้ควรบรรจุสถูปเจดีย์มี ๔ บุคคล คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า๑,
พระปัจเจกพุทธเจ้า๑, พระอรหันต์สาวก๑,
|
|
พระเจ้าจักรพรรดิ๑
บุคคลทั้ง ๔ นี้ เกิดขึ้นมาในโลกเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ชนเหล่าใดยังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์"
ส่วนพระภิกษุทั่วไปหรือคนทั่วไป ไม่ควรทำสถูปเจดีย์
เพราะทำให้เปลืองที่ทาง มีบางวัดปล่อยให้มีการสร้างเจดีย์เหล่านี้อย่างใหญ่โตและมากมายจนวัดไม่มีที่จะเดิน
เพียงเห็นแก่ผลตอบแทนเล็กน้อยจากเจ้าของเจดีย์ แล้วทางวัดต้องคอยดูแลให้เขาจนชั่วนิรันดร์
ไม่คุ้มกับราคาที่ดินทีมีราคามูลค่าสูงเพิ่มขึ้นทุกวัน แทนที่วัดจะมีที่ทางอันร่มรื่นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
|
|
|
|
|
๘. การไปเคารพศพ ไปขอขมาศพ ให้มีการอโหสิกรรมให้กันและกัน
ทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมก็ดี สามารถอโหสิกรรมเลิกการจองเวรได้หรือไม่?
|
|
|
|
|
ตอบ
|
การเคารพศพ
การขอขมาศพ เป็นความดี ถ้าทั้งผู้อยู่และผู้ตายอโหสิกรรม ไม่จองเวรซึ่งกันและกัน
เวรก็ระงับได้ แต่ถ้าฝ่ายใดยังจองเวรอยู่ ฝ่ายนั้นก็ยังต้องทุกข์อยู่
|
|
|
|
|
๙. กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม กรรมอย่างใดให้ผลมากกว่ากัน?
|
|
|
|
ตอบ
|
ถ้ากายกรรมและวจีกรรม
ไม่เกิดจากมโนกรรม ถือว่าไม่มีเจตนา กรรมนั้นย่อมมีผลน้อย แต่ถ้ากรรมใดสืบเนื่องจากมโนกรรม
คือมีเจตนา กรรมนั้นย่อมมีผลมาก
|
|
|
|
|
|
๑๐. จากพระวินัยปิฎก เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงไม่บัญญัติพระวินัยหรือสิกขาบท
ก่อนที่พระภิกษุจะทำความผิดให้เกิดขึ้น แต่กลับทรงบัญญัติพระวินัยหรือสิกขาบทในภายหลัง?
|
|
|
|
|
ตอบ
|
ถ้าพระพุทธองค์จะทรงบัญญัติพระวินัยไว้ก่อน
กุลบุตรกุลธิดาจะพากันคิดว่า พระองค์ทรงห้ามไปเสียหมดจนจะเหยียดแขนเหยียดขาไม่ได้
แล้วไม่กล้ามาบวช พระพุทธองค์จึงรอให้ภิกษุ ภิกษุณี ทำผิดเสียก่อนแล้วจึงบัญญัติสิกขาบท
เพื่อให้เหล่าภิกษุสงฆ์เห็นเหตุ เห็นผล เห็นโทษ และเป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ย่อมบัญญัติสิกขาบทเมื่อมีเหตุเสียก่อน
|
|
|
|
๑๑. เพราะเหตุใดสามเณรจึงมีศีลเพียงแค่ ๑๐ ข้อ แต่พระภิกษุกลับมีศีลทั้งหมด
๒๒๗ ข้อ?
|
|
|
|
ตอบ
|
|
เหตุที่สามเณรถือศีล
๑๐ เพราะสามเณรยังเด็กอยู่ โดยทั่วไปเด็กๆย่อมมีความหวั่นไหวง่าย
ความมั่นคงยังมีไม่พอ แต่ศีล ๑๐ หรือศีล ๘ ก็บรรลุอรหันต์ได้เช่นกัน
ส่วนพระภิกษุต้องมีศีล ๒๒๗ ข้อ เพราะเป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
เป็นผู้รู้เดียงสา รับผิดชอบตัวเองได้แล้ว จึงต้องถือศีลอย่างเต็มที่
และเพื่อเป็นความงดงามของหมู่สงฆ์ เพื่อเป็นที่น่าเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น
|
|
๑๒. การบวชเป็นพระภิกษุได้ จะต้องมีอายุเท่าไร และมีข้อยกเว้นอะไรบ้าง? |
|
|
ตอบ
|
ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุต้องมีอายุครบ
๒๐ ปีบริบูรณ์ และมีกฎเกณฑ์ดังนี้
๑.ได้รับความเห็นชอบจากบิดามารดา บุตรภรรยา หรือผู้ปกครองแล้ว
๒.ไม่มีหนี้สิน ๓.ไม่หนีราชการ
๔.ไม่มีคดีติดตัว ๕.ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
๖.ไม่เป็นปราชิกในการบวชคราวก่อน ๗.มีอวัยวะครบ
๓๒ บริบูรณ์
๘.ไม่เป็นกะเทยหรือคนสองเพศ ๙.ท่องคำขานนาคได้
๑๐.มีเครื่องบริขาร ๘ อย่าง
|
|
|
๑๓. ชายไทยทุกคนที่นับถือศาสนาพุทธ เมื่ออายุครบตามข้อ
๙ จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องบวชตามประเพณี? |
|
ตอบ
|
ประเพณีการบวชเป็นสิ่งที่ดี
ทำให้คนได้มาสัมผัสกับการประพฤติพรหมจรรย์ ถ้ามีศรัทธา หมั่นศึกษาและประพฤติปฏิบัติธรรม
ย่อมเกิดบุญเกิดอานิสงส์ ถ้าไม่มีศรัทธา ไม่ประพฤติปฏิบัติ ย่อมไม่ได้บุญ
ไม่ได้อานิสงส์
|
๑๔. ถ้า นาย ก.มอบสิ่งของให้กับ นาย ข. รับไว้ และนาย
ข. นำสิ่งของที่ได้รับไว้ไปทำบุญกับพระภิกษุ ถามว่าเขาทั้งสองจะได้รับอานิสงค์ของบุญเท่ากันหรือไม่?
|
|
ตอบ
|
นาย ข. ได้บุญมากกว่า
นาย ก. แต่ถ้านาย ก. รู้ว่านาย ข. นำสิ่งของนั้นไปทำบุญกับพระภิกษุ
แล้วมีความยินดีด้วย ย่อมได้บุญมากกว่านาย ข. เพราะนาย ก.เป็นเจ้าของทรัพย์
ถ้านาย ก.ไม่ยินดีการกระทำของนาย ข. นาย ก.ย่อมได้บุญน้อยกว่า
|
|
|