|
|
|
|
๑.พระภิกษุ สามเณร และแม่ชี เดินตามห้างสรรพสินค้าเหมาะสมหรือไม่?
|
|
|
ตอบ
|
ห้างสรรพสินค้าใหญ่โต เช่น ห้างเซ็นทรัล ห้างบิ๊กซี เป็นต้น ห้างเหล่านี้เป็นห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่
ทันสมัยหรูหรา มีสินค้าฟุ่มเฟือยตามกิเลสตัณหาของผู้ครองเรือน มักเป็นที่ๆมีผู้คนพลุกพล่าน เหมือนแหล่งบันเทิง เป็นสถานที่
อโคจรของพระภิกษุ สามเณร แม่ชี หรือนักพรตนักบวชผู้ทรงศีล หากมีความจำเป็นจะซื้อของเพื่อเอาไปใช้ในกิจการพระศาสนา ควรไปหาซื้อจากร้านค้าธรรมดาทั่วๆไป ที่ไม่มีคนพลุกพล่าน
หรือฝากคฤหัสถ์ไปซื้อจะเหมาะสมกว่า |
|
|
|
๒. พระภิกษุ สามเณร
หรือแม่ชี ซื้อหวยซื้อลอตเตอรี่เหมาะสมหรือไม่? |
|
ตอบ |
หวยและลอตเตอรี่ เป็นการพนัน
เป็นอบายมุข เป็นสิ่งมอมเมา เป็น ไปเพื่อความโลภ อยากมั่งอยากมี
เป็นสิ่งต้องห้ามของสัตตะบุรุษ เป็นสิ่งต้องห้ามของผู้มีศีลธรรม
พระภิกษุสามเณรและแม่ชี
คือผู้แสวงหาสัจจะธรรม แสวงหาทางพ้นกิเลสพ้นทุกข์ไม่ควรเข้าไปข้องแวะ
เพราะน่ารังเกียจน่าติเตียน
|
|
|
๓. พระภิกษุใบ้หวย ให้หวยได้หรือไม่?
|
|
|
|
ตอบ |
เมื่อหวยก็ดี ลอตเตอรี่ก็ดี เป็นการพนัน เป็นสิ่งต้องห้ามของผู้มีศีล
ดังนั้นพระภิกษุจึงไม่ควรให้เพราะเป็นการส่งเสริมให้คนมัวเมาในอบายมุข
-
ถ้าพระภิกษุให้หวยถูก พระภิกษุนั้นได้ชื่อว่าผิดพระวินัย
เพราะการทำนายทายทักเป็นเดรัจฉานวิชชา
-
ถ้าพระภิกษุนั้นให้หวยผิด พระภิกษุนั้นได้ชื่อว่าต้องอาบัติปราชิก
(ขาดจากความเป็นพระภิกษุ) เพราะอวดคุณวิเศษที่ไม่มีจริงในตน
|
|
|
|
|
๔. พระภิกษุเลี้ยงนกสวยงามในกรงบ้าง เลี้ยงสัตว์ป่า สัตว์ดุร้ายบ้าง
เช่น นกยูง เสือ หมี ฯลฯ. ได้หรือไม่?
|
|
|
|
ตอบ
|
การรับสัตว์เลี้ยง
เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย แพะ แกะ ไก่ เป็นต้น ก็ผิดพระวินัยอยู่แล้ว
ดังนั้นการเลี้ยงสัตว์สวยงาม
หรือสัตว์ป่า สัตว์ดุร้าย ดังกล่าวยิ่งไม่สมควร เป็นสิ่งที่น่าติเตียนเพราะเป็นของเล่น
เป็นความยุ่งยาก เป็นภาระและเป็นอุปสรรคต่อการประพฤติพรหมจรรย์
อาจมีสัตว์บางจำพวก เช่น สุนัข แมว นก กา กระรอก กระแต
ฯลฯ. ที่มักมาเองไปเอง โดยไม่ต้องไปซื้อหามา เมื่อมีเศษอาหารก็สงเคราะห์ให้มันกินไป |
|
|
|
|
|
๕. พระภิกษุรับเด็กกำพร้ามาเลี้ยง เหมาะสมหรือไม่?
|
|
|
|
ตอบ
|
ไม่เหมาะไม่ควร เพราะผิดพระวินัย คือ การรับสตรี กุมาร และกุมารี ทำให้เป็นภาระ เป็นความยุ่งยาก
เป็นอาการของพ่อบ้านที่ยังยินดีอยู่กับพวกเด็กๆ เมื่อได้จับเนื้อต้องตัวกับเด็กชายบ้าง
เด็กหญิงบ้าง ย่อมทำให้เกิดความกำหนัดยินดี ทำให้เกิดความรักความผูกพัน
เป็นพันธนาการที่เป็นอุปสรรคต่อการประพฤติพรหมจรรย์
เกิดปัญหาเกิดภาระ คือ ต้องทำเสื้อผ้า ข้าวของ เครื่องใช้เป็นอันมากเพื่อมาบำรุงบำเรอ
ต้องส่งให้เล่าเรียน แต่ถ้าจะสงเคราะห์เด็กเหล่านั้น
ถ้าเป็นเด็กชายก็ควรให้บวชเป็นสามเณร ถ้าเป็นเด็กหญิงก็ควรให้บวชชี
ซึ่งเขาสามารถบิณฑบาตเลี้ยงตนเองได้ สอนให้เขาเจริญสมาธิ-วิปัสสนา
ปฏิบัติธรรม แสวงหาทางพระนิพพานเลยทีเดียว จะเป็นสิ่งที่มนุษย์และเทวดาสรรเสริญ
แต่ก่อนให้การบวช ควรถามความสมัครใจเสียก่อน ว่าจะประพฤติปฏิบัติพรหมจรรย์ได้หรือไม่
ถ้าไม่ได้ก็ไม่ควรให้บวช และเมื่อบวชแล้วก็ไม่ควรส่งเสริมให้เขาเรียนทางโลก
เช่น ป.๔ ม.๖ เพราะการเรียนทางโลกต้องใช้ทุนมาก และเป็นไปเพื่อการลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพและครองเรือน
ถ้าต้องการมุ่งไปในทางโลกก็ควรส่งไปให้หน่วยงานสงเคราะห์ของทางโลกจึงจะถูกต้อง
|
|
|
|
|
|
|
๖.มีบางวัดสอนวิชาเล่นลิเก สมควรหรือไม่?
|
|
|
|
ตอบ
|
ลิเกเป็นมหรสพ เป็นความบันเทิงชนิดหนึ่ง ย่อมมีบทรักบทโศก มีบทพิศวาสเกี้ยวพาราศี มีบทดีบทร้าย เป็นสิ่งประโลมโลก
ไม่เหมาะไม่ควรแก่สมณะ ไม่ควรแก่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ การที่สมณะมาสอนวิชาอย่างนี้
ย่อมได้ชื่อว่ามีความยินดีด้วย ชาวบ้านทั่วไปไม่รู้จักพระธรรมพระวินัยย่อมกล่าวสรรเสริญ
แต่บัณฑิตผู้รู้จักพระธรรมพระวินัยย่อมกล่าวติเตียน |
|
|
|
|
๗. ตาลปัตร มีไว้ทำไม?
|
|
|
|
ตอบ
|
ปัญหาข้อนี้เคยมีพระภิกษุไทยไปอยู่อเมริกา
พวกฝรั่งถามว่า ตาลปัตรมีไว้ทำไม? พระภิกษุองค์นั้นตอบไม่ได้
แล้วมานินทาที่หลังว่า พวกฝรั่งนี้บ้า ถามไม่เป็นเรื่อง!!!
ตาลปัตร คือ พัด หรือพัดวาลวิชนี ซึ่งเป็นพัดหรูหรา สวยงามที่ใช้พัดวีให้กษัตริย์
หรือคนรับใช้พัดวีให้เจ้านาย และพระภิกษุใช้พัดวีให้พระพุทธเจ้าในบางครั้งบางคราว
พัดถวายด้วยความรักความศรัทธา ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ทรงติดพระหฤทัย
พระพุทธเจ้า ไม่ทรงบัญญัติให้พระภิกษุนำตาลปัตรมาใช้ในพิธีกรรมใดๆเลย
ในสมัยต่อมา พระภิกษุนำมาถือบังหน้าเวลาให้ศีลให้พรแก่ญาติโยม หรือถือบังหน้าในเวลาสวดศพ
เพื่อให้ดูขลัง และเป็นพิธีการมากขึ้นเท่านั้น และต่อมากษัตริย์ได้ทำเป็นพัดยศถวายแก่พระเถระทั้งหลาย
ซึ่งเป็นของประดับ เป็นของเหลวไหลไร้สาระ ไม่มีในพระวินัยบัญญัติ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ตอบ
|
พัดยศ ก็คือ ตาลปัตรที่กษัตริย์ทำถวายแก่พระเถระ ที่พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธา ในยุคหลังพุทธกาล
และในปัจจุบันพัดยศได้ถูกนำไปใช้เพื่อการแสดงสถานะของยศและสมณะศักดิ์
ที่พระภิกษุองค์นั้นได้รับพระราชทาน
ในสมัยพระพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่เคยให้ยศแก่พระภิกษุ
หรือสามเณรรูปใดเลย พระภิกษุสามเณรที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
แล้วบรรลุอริยะมรรค อริยะผล เช่น บรรลุพระโสดาบัน พระสกทาคามี
เป็นต้น ย่อมรู้ได้เฉพาะตน ไม่ต้องแสดงแก่ใคร ไม่ต้องบอกไม่ต้องโอ้อวดใคร
|
|
|
|
|
|
๙. พระภิกษุสวดพระอภิธรรมในงานศพเป็นเสียงเพลง เหมาะสมหรือไม่?
|
|
|
|
ตอบ
|
พระพุทธเจ้ากล่าวโทษของการสวดเป็นทำนองเพลงของพระภิกษุ
๕ ประการคือ
๑. ตนเองย่อมกำหนัดในเสียงนั้น
๒. ผู้ฟังย่อมกำหนัดในเสียงนั้น
๓. ชาวบ้านย่อมติเตียนว่า สมณะศากยะบุตรพวกนี้ ก็ร้องเพลงเหมือนพวกเรา
๔. เมื่อพระภิกษุผู้สวดพอใจในเสียงนั้น จิตย่อมเสื่อมจากสมาธินั้น
๕. พระภิกษุรุ่นหลัง ย่อมถือเอาเป็นแบบอย่าง
พระไตรปิฎกเล่ม ๒๒ หน้า ๒๕๖
ดังนั้นพระภิกษุจึงไม่ควรสวดมนต์เป็นเสียงทำนองเพลง แต่ถ้าคฤหัสถ์จะสวดเป็นเพลง
เช่น การสวดทำนองสระภัญญะ ย่อมทำได้เพราะไม่มีข้อห้ามสำหรับคฤหัสถ์
|
|
|
|
|
๑๐.พระภิกษุสามเณรบางวัด
โดยเฉพาะวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ฉันอาหารเช้า เพลแล้ว ในเวลาเย็นหรือค่ำยังฉันอาหารอีก
และฉันอย่างเปิดเผย ทั้งยังมีญาตินำไปถวายในเวลาค่ำด้วย ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น?
|
|
|
|
|
ตอบ
|
พระพุทธเจ้าตรัสไว้หลายพระสูตรในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ ว่า พระภิกษุฉันอาหารวันละมื้อ
งดเว้นการฉันอาหารในเวลาวิกาล (หลังเที่ยง) แม้ศีล
๘ (อุโบสถศีล) ของอุบาสก อุบาสิกา ก็เช่นกัน
พระพุทธองค์ทรงกล่าวคุณของการฉันอาหารวันละมื้อเดียวว่า ทำให้มีโรคน้อย
กายเบา กระปรี้กระเปร่า มีกำลัง
พระภิกษุผู้มีศรัทธาไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ย่อมทำได้ไม่ยาก
ส่วนพระภิกษุผู้มักมากเท่านั้นที่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ไม่ยอมฝึก ไม่ยอมปฏิบัติ
จึงฉันวันละหลายมื้อ
ส่วนพระภิกษุอาพาธ (ป่วย) เกี่ยวกับเรื่องท้อง เช่นโรคกระเพาะอาหาร
พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ฉันได้ไม่ผิดพระวินัย แต่นั่นหมายถึงก่อนบวชต้องไม่อาพาธ
แต่มาอาพาธที่หลังเมื่อบวชไปแล้ว ถ้าก่อนบวชป่วยอยู่ก็ไม่ควรบวช ต้องรักษาให้หายเสียก่อน
|
|
|
|
|
|
|
|